แนวปฏิบัติที่ดี ด้านการพัฒนานักศึกษาด้านการจัดฝึกอบรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 แนวปฏิบัติที่ดี ด้านการพัฒนานักศึกษาด้านการจัดฝึกอบรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

1. ชื่อเรื่อง / แนวปฏิบัติ

การพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ: นักจัดฝึกอบรม

 

2. ชื่อหน่วยงาน 

สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

3. บทสรุปโครงการ

การพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ: นักจัดฝึกอบรม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะด้านการเขียนโครงการฝึกอบรม และ 2) เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะด้านการจัดโครงการฝึกอบรม โดยการใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการพัฒนา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ซึ่งผลที่ได้นั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 2 ข้อได้ มีแนวทางการจัดการความรู้โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มาถ่ายทอดความรู้ให้กับรุ่นน้อง

 

4. ที่มาและความสำคัญของโครงการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาประเทศ และคณะวิทยาการจัดการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีศักยภาพพร้อมทำงานในระดับสากล  ซึ่งสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ดำเนินการเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ดังนั้นสาขาวิชาฯ จึงดำเนินการจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ: นักจัดฝึกอบรม

 

5. วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะด้านการเขียนโครงการฝึกอบรม

2. เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะด้านการจัดโครงการฝึกอบรม

 

6. แนวปฏิบัติที่ดี (วิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดำเนินตาม PDCA)

ในการจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะทำงานได้ใช้แนวทางการดำเนินตาม PDCA ซึ่งเป็นวงจรคุณภาพในการทำให้วัตถุประสงค์และเป้าหมายบรรลุ โดยใช้ PDCA ถึง 3 รอบ ดังนี้

PDCA รอบที่ 1

Plan

เริ่มตั้งแต่ปี 2560 คณะทำงานได้ร่วมประชุมวางแผนให้นักศึกษาสามารถเป็นนักจัดฝึกอบรมได้ โดยเริ่มต้นกำหนดให้เป็นกิจกรรมในรายวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน และนำเสนอกิจกรรมหรือเกมส์ เป้าหมายคือนักศึกษาทุกคนต้องสามารถจัดกิจกรรมหรือเกมส์ได้

Do

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 นำเสนอชื่อกิจกรรมหรือเกมส์ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน และสรุปผล

Check

ทางคณะทำงานประชุมสรุปผลว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งนักศึกษาทุกคนสามารถเป็นจัดกิจกรรมหรือเกมส์ได้

Action

ทางคณะทำงานประชุมกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายเพิ่มเติมในครั้งหน้า โดยกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สามารถจัดฝึกอบรมในรายวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

PDCA รอบที่ 2

Plan

จากการสรุปผล PDCA รอบที่ 1 ได้กำหนดเป้าหมายว่าจะต้องกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สามารถจัดฝึกอบรมในรายวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม

Do

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เขียนโครงการฝึกอบรม จัดฝึกอบรม ประเมินผล และจัดทำรายงานฝึกอบรม

Check

ทางคณะทำงานประชุมสรุปผลว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งนักศึกษาทุกคนสามารถจัดฝึกอบรมได้

Action

ทางคณะทำงานประชุมกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายเพิ่มเติมในครั้งหน้า โดยกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สามารถจัดฝึกอบรมหรือสัมมนาของสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

 

PDCA รอบที่ 3

จากการสรุปผล PDCA รอบที่ 2 ได้กำหนดเป้าหมายว่าจะต้องกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สามารถจัดฝึกอบรมหรือสัมมนาของสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

Do

นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สามารถจัดฝึกอบรมหรือสัมมนาของสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยเริ่มต้นเขียนโครงการฝึกอบรม จัดฝึกอบรม ประเมินผล และจัดทำรายงานฝึกอบรม ทั้งนี้สามารถจัดทำ google form และวิเคราะห์ความพึงพอใจในการฝึกอบรมด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

Check

จากการประเมินผลจึงทำให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ ดังนี้

1. ปี 2560 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สามารถจัดกิจกรรมหรือเกมส์ได้        

2. ปี 2561 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สามารถจัดฝึกอบรมได้ โดยสามารถเขียนโครงการฝึกอบรม จัดฝึกอบรม ประเมินผล และจัดทำรายงานฝึกอบรม

3. ปี 2562 นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สามารถจัดฝึกอบรมได้ โดยสามารถเขียนโครงการฝึกอบรม จัดฝึกอบรม ประเมินผล และจัดทำรายงานฝึกอบรม ทั้งนี้สามารถจัดทำ google form และวิเคราะห์ความพึงพอใจในการฝึกอบรมด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ช่วยจัดฝึกอบรมของสาขาวิชาฯ

4. ปี 2562 ตัวแทนนักศึกษาได้มีส่วนร่วมการจัดโครงการคลินิกวิจัยระยะที่ 1-2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

5. ปี 2562 ตัวแทนนักศึกษาได้มีส่วนร่วมการจัดโครงการบริการวิชาการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับหอการค้าจังหวัดนครปฐม และกลุ่มทายาทนักธุรกิจและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หอการค้าจังหวัดนครปฐม (YEC นครปฐม) หลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร MINI MBA รุ่น 1 ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นที่มีการจัดเก็บรายได้เข้ามหาวิทยาลัย และคณะวิทยาการจัดการ ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเป็นพิธีการ สรุปผลโครงการฝึกอบรม และได้รับค่าตอบแทนในการดำเนินงาน

Action

เป้าหมายนั้นบรรลุตามแผนที่ได้วางไว้ แต่ก็มีปัญหาที่ต้องแก้ไขคือ ในปี 2562 นักศึกษาบางคนยังไม่สามารถเป็นพิธีกรได้ แนวทางในการแก้ไขคือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นพิธีกร เช่น การให้เข้าอบรมโครงการเทคนิคการสื่อสารและการสร้างทีมสำหรับนัก HRM เป็นต้น

 

7. ผลกระทบที่เป็นประโยชน์หรือสร้างคุณค่า

1. สามารถสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีสมรรถนะด้านการจัดฝึกอบรม ตามที่สาขาวิชาฯ กำหนดไว้

2. นักศึกษามีทักษะการจัดฝึกอบรม

3. นักศึกษาสามารถนำทักษะการจัดฝึกอบรมมาใช้ในการทำงานได้

 

8. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. มีภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม

2. มีทักษะการใช้ google form และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

3. มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ PDCA

 

9. ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข

สิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน คือ นักศึกษาบางคนยังไม่สามารถเป็นพิธีกรได้ แนวทางในการแก้ไขคือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นพิธีกร

 

10. แนวทางในการจัดการความรู้ (ถ้ามี)

แนวทางในการจัดการความรู้ คือ การขยายผลวิธีการนี้ไปยังนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มาถ่ายทอดความรู้ให้กับรุ่นน้อง

-----

คณะทำงาน        

1. อาจารย์แพรวพรรณ ตรีชั้น

2. อาจารย์ ดร.ดวงใจ คงคาหลวง

3. อาจารย์ ดร.จันจิราภรณ์ ปานยินดี

4. อาจารย์ ดร.จุฑามาส ศรีชมภู

-----

เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th

เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/hrm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิตรุ่น 58

ข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิตรุ่น 57

ข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิตรุ่น 56